- Back to Home »
- ตอนที่3 โจรโพกผ้าเหลือง
Posted by : Unknown
พฤษภาคม 29, 2556
สามก๊กทุกฉบับที่มีมาในโลกล้วนเรียกกลุ่มโจรโพกผ้าเหลืองว่าเป็น “โจร” ทั้งสิ้น
ซึ่งเป็นการช่วยกันเหยียบย่ำซ้ำเติมและทำให้ความจริงผันแปรไปจากที่พึงเป็น
ความจริงโจรโพกผ้าเหลืองเป็นขบวนการกู้ชาติขบวนหนึ่งในยุคที่บ้านเมืองเป็นจลาจล ไม่ต่างกับขบวนการกู้ชาติของชาวนาในกรณีกบฏเขาเหลียงซาน หรือกบฏนักมวย แต่เมื่อขบวนการกู้ชาตินี้พ่ายแพ้ ก็ต้องถูกขนานนามว่าเป็นกบฏ และเป็นธรรมเนียมการเมืองจีนโบราณที่ต้องเหยียบย่ำซ้ำเติมผู้พ่ายแพ้ให้แบนติดดิน ดังนั้นขบวนการกู้ชาติขบวนนี้จึงถูกเหยียดหยามว่าเป็นเพียงกลุ่มโจรเท่านั้น
ความจริงโจรโพกผ้าเหลืองเป็นขบวนการกู้ชาติขบวนหนึ่งในยุคที่บ้านเมืองเป็นจลาจล ไม่ต่างกับขบวนการกู้ชาติของชาวนาในกรณีกบฏเขาเหลียงซาน หรือกบฏนักมวย แต่เมื่อขบวนการกู้ชาตินี้พ่ายแพ้ ก็ต้องถูกขนานนามว่าเป็นกบฏ และเป็นธรรมเนียมการเมืองจีนโบราณที่ต้องเหยียบย่ำซ้ำเติมผู้พ่ายแพ้ให้แบนติดดิน ดังนั้นขบวนการกู้ชาติขบวนนี้จึงถูกเหยียดหยามว่าเป็นเพียงกลุ่มโจรเท่านั้น
เรื่องของโจรโพกผ้าเหลืองเริ่มต้นขึ้นที่"เมืองกิลกกุ๋น" ซึ่งเป็นดินแดนทางทิศใต้ของเมืองหลวง ในยุคพระเจ้าเลนเต้
ตำแหน่งเมืองกิลกกุ๋นในปัจจุบัน อยู่ในมณฑลเหอเป่ย |
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
มีชายคนหนึ่งชื่อ “เตียวก๊ก” เป็นหมอยาแผนโบราณ ตั้งตนอยู่ในศีลธรรม มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชอบช่วยเหลือราษฎร จึงเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านในถิ่นนั้นเป็นอันดี
เตียวก๊ก |
ไทแผงเยาสุด |
เตียวก๊กกลับมาบ้านก็ลงมือศึกษาเล่าเรียนตำราทั้ง 3 เล่ม ปรากฏว่าเป็นตำราเรียกลม เรียกฝนเล่มหนึ่ง, เป็นตำราผูกพยนต์
หรือตำราปลุกเสกสิ่งของให้เป็นคน หรือเป็นสัตว์เล่มหนึ่ง
และตำรารักษาโรคอีกเล่มหนึ่ง
เตียวก๊กศึกษาตำราทั้งสามเล่มแล้วก็ได้ใช้วิชารักษาโรครักษาชาวบ้าน ซึ่งทั้งหมดเป็นคนยากไร้ ไม่มีเงินค่ารักษาพยาบาล ไม่สามารถไปหาหมอหลวงหรือแพทย์ตามร้านหมอต่าง ๆ ได้ ชาวบ้านจึงพากันมาให้เตียวก๊กรักษาไข้เจ็บโรคภัยต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือศรัทธาของชาวบ้านทั้งเมืองกิลกกุ๋น
เมื่อขบวนการอาสาป้องกันตนเองเติบใหญ่เข้มแข็งขึ้นเช่นนี้
ก็มีความจำเป็นที่จะต้องจัดระบบการบริหารเพื่อควบคุมกองกำลังอาสาป้องกันตนเอง
ดังนั้นเตียวก๊กจึงแต่งตั้งให้ศิษย์ที่ไว้ใจเป็นหัวหน้าขบวนการสาขาเรียกว่า “นายบ้าน” ถึง 30 ตำบล ตำบลใหญ่มีกำลังติดอาวุธประมาณหมื่นเศษ
ตำบลเล็กมีกำลังติดอาวุธ 6-7 พันคน จัดตั้งกำลังแบบกองทหาร มีธงสำหรับรบศึกทุกตำบล
เมื่อมีผู้คนมาเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก และจัดตั้งขบวนเป็นกองทัพฉะนี้แล้ว บรรดาลูกศิษย์ลูกหาของเตียวก๊กก็ยุยงส่งเสริมให้เตียวก๊กกอบกู้ฟื้นฟูชาติบ้านเมือง ให้ราษฎรได้ร่มเย็นเป็นสุข
เตียวก๊กฟังแล้วยังไม่ตัดสินใจประการใด แต่ปรากฏการณ์ที่ได้พบเห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันก็คือ การกดขี่ข่มเหงราษฎรของฝ่ายขุนนางและข้าราชการ และการเบียดเบียนปล้นชิงวิ่งราวที่ขยายตัวลุกลามไปอย่างกว้างขวางนั้น ทำให้ความคิดเตียวก๊กโน้มไปในทางที่เห็นว่า ข้อเสนอของลูกศิษย์เป็นข้อเสนอที่เข้าท่า
เตียวก๊กเมื่อถูกลูกศิษย์ยุยงหนักเข้าก็ตกลงใจเห็นด้วย จึงตั้งตนเองเป็นพระยา เปลี่ยนขบวนการอาสาป้องกันตนเองเป็นขบวนการกู้ชาติ แล้วสร้างข่าวลือทั้ง 8 เมืองว่า “แผ่นดินจะผันแปรปรวนไปแล้ว จะมีผู้มีบุญมาครองแผ่นดินใหม่ บ้านเมืองจะเป็นสุข” แล้วให้เอาปูนขาวเขียนเป็นอักษรไว้ที่บ้านเรือน 2 คำว่า “ปีชวดบ้านเมืองจะเป็นสุข”
นี่เป็นธรรมดาของอำนาจวาสนาที่เข้าครอบงำบุคคลใดแล้ว ก็จะทำให้บุคคลนั้นเป็นคนขี้ลืม คือลืมความหลัง ลืมเรื่องเก่า ลืมมิตรเก่า เตียวก๊กที่ถูกลูกยุและอำนาจวาสนาครอบงำแล้วเช่นนี้ จึงลืมคำของเทพยดาที่เคยเตือนไว้ตอนมอบตำรา 3 เล่มว่า “ถ้าตัวคิดร้ายมิซื่อตรงต่อแผ่นดิน ภัยอันตรายจะถึงตัว”
เตียวก๊กนั้นมีน้องชายอยู่สองคนชื่อเตียวโป้และเตียวเหลียง
ได้รับมอบหมายให้เป็นรองหัวหน้าขบวนการ ดังนั้นเมื่อจะทำการกอบกู้ฟื้นฟูชาติ
เตียวก๊กจึงสอนน้องว่า “บัดนี้เราจะทำการใหญ่เพื่อการกอบกู้ฟื้นฟูชาติ
ถ้าจะคิดอ่านการสิ่งใดจงเอาใจไพร่เป็นประมาณ”
เตียวก๊กศึกษาตำราทั้งสามเล่มแล้วก็ได้ใช้วิชารักษาโรครักษาชาวบ้าน ซึ่งทั้งหมดเป็นคนยากไร้ ไม่มีเงินค่ารักษาพยาบาล ไม่สามารถไปหาหมอหลวงหรือแพทย์ตามร้านหมอต่าง ๆ ได้ ชาวบ้านจึงพากันมาให้เตียวก๊กรักษาไข้เจ็บโรคภัยต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือศรัทธาของชาวบ้านทั้งเมืองกิลกกุ๋น
ต่อมาห่าลงกินเมืองกิลกกุ๋น ชาวเมืองเกิดความไข้ล้มตายลงเป็นอันมาก ชาวเมืองกิลกกุ๋นจึงพากันไปหาเตียวก๊กให้ช่วยรักษาความไข้จากโรคห่า
เตียวก๊กได้เขียนยันต์ตามตำราของเทพยดาแจกให้ชาวเมืองบำบัดความไข้
ความไข้นั้นก็หาย โรคห่าก็หมดสิ้นไป
ชาวเมืองจึงพากันมาฝากตัวเป็นศิษย์เตียวก๊กมากขึ้น ประกอบกับช่วงนั้นพวกขุนนาง ข้าราชการรีดนาทาเร้นราษฎรเพื่อเก็บส่วยส่งให้กับขันที และเพื่อความร่ำรวยของตนเอง จนบ้านเมืองอดอยากยากแค้น ทั้งข้าราชการ และพวกมาเฟียต่าง ๆ ได้ประพฤติตนเป็นโจรปล้นชิงวิ่งราวชาวบ้าน แพร่ขยายไปทุกตำบล ดังนั้นราษฎรจึงยิ่งหันเข้ามาพึ่งพาเตียวก๊กมากขึ้น
ชาวเมืองจึงพากันมาฝากตัวเป็นศิษย์เตียวก๊กมากขึ้น ประกอบกับช่วงนั้นพวกขุนนาง ข้าราชการรีดนาทาเร้นราษฎรเพื่อเก็บส่วยส่งให้กับขันที และเพื่อความร่ำรวยของตนเอง จนบ้านเมืองอดอยากยากแค้น ทั้งข้าราชการ และพวกมาเฟียต่าง ๆ ได้ประพฤติตนเป็นโจรปล้นชิงวิ่งราวชาวบ้าน แพร่ขยายไปทุกตำบล ดังนั้นราษฎรจึงยิ่งหันเข้ามาพึ่งพาเตียวก๊กมากขึ้น
ขบวนการอาสาป้องกันตนเองมากขึ้นทุกวัน จนขบวนการอาสาป้องกันตนเองเติบใหญ่
และขยายตัวไปยังเมืองต่าง ๆ อีก 7 เมือง รวมเป็น 8 เมือง คือเมือง กิลกกุ๋น, เฉงจิ๋ว, อิวจิ๋ว, ชิวจิ๋ว, เกงจิ๋ว, ยังจิ๋ว, กุนจิ๋ว และ อิจิ๋ว ชาวเมืองทั้ง 8เมืองนี้นับถือศรัทธาเตียวก๊ก
เขียนเอาชื่อเตียวก๊กไว้บูชาทุกบ้านเรือน
เมื่อมีผู้คนมาเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก และจัดตั้งขบวนเป็นกองทัพฉะนี้แล้ว บรรดาลูกศิษย์ลูกหาของเตียวก๊กก็ยุยงส่งเสริมให้เตียวก๊กกอบกู้ฟื้นฟูชาติบ้านเมือง ให้ราษฎรได้ร่มเย็นเป็นสุข
เตียวก๊กฟังแล้วยังไม่ตัดสินใจประการใด แต่ปรากฏการณ์ที่ได้พบเห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันก็คือ การกดขี่ข่มเหงราษฎรของฝ่ายขุนนางและข้าราชการ และการเบียดเบียนปล้นชิงวิ่งราวที่ขยายตัวลุกลามไปอย่างกว้างขวางนั้น ทำให้ความคิดเตียวก๊กโน้มไปในทางที่เห็นว่า ข้อเสนอของลูกศิษย์เป็นข้อเสนอที่เข้าท่า
เตียวก๊กเมื่อถูกลูกศิษย์ยุยงหนักเข้าก็ตกลงใจเห็นด้วย จึงตั้งตนเองเป็นพระยา เปลี่ยนขบวนการอาสาป้องกันตนเองเป็นขบวนการกู้ชาติ แล้วสร้างข่าวลือทั้ง 8 เมืองว่า “แผ่นดินจะผันแปรปรวนไปแล้ว จะมีผู้มีบุญมาครองแผ่นดินใหม่ บ้านเมืองจะเป็นสุข” แล้วให้เอาปูนขาวเขียนเป็นอักษรไว้ที่บ้านเรือน 2 คำว่า “ปีชวดบ้านเมืองจะเป็นสุข”
นี่เป็นธรรมดาของอำนาจวาสนาที่เข้าครอบงำบุคคลใดแล้ว ก็จะทำให้บุคคลนั้นเป็นคนขี้ลืม คือลืมความหลัง ลืมเรื่องเก่า ลืมมิตรเก่า เตียวก๊กที่ถูกลูกยุและอำนาจวาสนาครอบงำแล้วเช่นนี้ จึงลืมคำของเทพยดาที่เคยเตือนไว้ตอนมอบตำรา 3 เล่มว่า “ถ้าตัวคิดร้ายมิซื่อตรงต่อแผ่นดิน ภัยอันตรายจะถึงตัว”
เมื่อเตรียมการดั่งนี้แล้วก็จำเป็นอยู่เองที่ต้องประสานงานในเมืองหลวงเพื่อทำการใหญ่สืบไป
ดังนั้นเตียวก๊กจึงมอบหมายให้ลูกน้องชื่อ “ม้าอ้วนยี่” ไปติดสินบนฮองสี ขันที ซึ่งเป็นคนหนึ่งในสิบขันที
ให้ทำการเป็นไส้ศึกในเมืองหลวง
ม้าอ้วนยี่ |
เตียวโป้ เตียวเหลียง
เตียวก๊กได้บอกน้องทั้งสองคนว่าบัดนี้การพร้อมแล้ว ควรจะคิดเอาแผ่นดิน
มิฉะนั้นแล้วก็จะเสียการไป น้องทั้งสองคนก็เห็นด้วย
จากนั้นจึงเตรียมกำลังรบพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ไว้พร้อมเพื่อเตรียมเคลื่อนทัพเข้ายึดเมืองหลวง
หลังจากเตรียมการพร้อมแล้ว เตียวก๊กจึงใช้ให้ลูกศิษย์ชื่อ “ตองจิ๋ว” ถือหนังสือลับไปบอกฮองสีขันที
เพื่อเตรียมการด้านราชสำนักให้เกิดจลาจลวุ่นวายขึ้น สอดคล้องกับการศึกจากภายนอก
แต่ตองจิ๋วเปลี่ยนใจกลับนำหนังสือลับนั้นไปให้ขุนนางกราบทูลพระเจ้าเลนเต้
ความศึกจึงแตก เพราะศิษย์ขายอาจารย์ผู้นี้
พระเจ้าเลนเต้ทราบความแล้วจึงให้ “โฮจิ๋น” ผู้บัญชาการกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
ซึ่งเป็นพี่เมียและไต่เต้าเข้าสู่ตำแหน่งด้วยอาศัยความร่วมมือและประนีประนอมกับสิบขันที
นำทหารไปจับม้าอ้วนยี่ ซึ่งเป็นคนเดินสารติดสินบนฮองสีขันทีมาประหาร
โฮจิ๋น |
เมื่อกำจัดไส้ศึกแล้ว พระเจ้าเลนเต้จึงโปรดให้มีตราไปทุกหัวเมืองว่า ถ้าผู้ใดมีฝีมือกล้าหาญ ให้ช่วยกันจับโจรโพกผ้าเหลืองแล้วจะปูนบำเหน็จให้เป็นขุนนาง และมีพระบรมราชโองการตั้งให้ “โลติด” เป็นแม่ทัพ ให้ “โลจิ๋น” เป็นที่ปรึกษา ให้ “ฮองฮูสง” เป็นทัพรอง และให้ “จูฮี” เป็นทัพหนุน แยกขบวนทัพออกเข้าตีขบวนการกู้ชาติเป็นสามด้าน
โลติด ฮองฮูสง จูฮี |
เตียวก๊กได้ชุมนุมพลประกาศกู้ชาติ และให้กำลังใจปลุกระดมกำลังพลว่า “บัดนี้แผ่นดินจะสาบสูญฉิบหายแล้ว ผู้มีบุญจะมาเสวยสมบัติใหม่ คนทั้งปวงจงทำตามคำเทพยดาทำนายเถิด จะได้อยู่เย็นเป็นสุขพร้อมมูลกัน”
เมื่อประกาศตัวขบวนการกอบกู้ชาติอย่างเป็นทางการแล้ว เตียวก๊กก็สั่งให้จัดกองทัพกำลังพลห้าสิบหมื่น อาวุธยุทโธปกรณ์พร้อมสรรพ ตั้งตัวเองเป็นแม่ทัพใหญ่ เตียวโป้และเตียวเหลียงผู้น้องเป็นแม่ทัพรองและแม่ทัพหนุนโดยลำดับ แล้วสั่งให้เคลื่อนทัพเข้ายึดหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อเตรียมยึดเมืองหลวงต่อไป
กำลังพลห้าสิบหมื่นของกองทัพเตียวก๊กครั้งนี้
แม้ยังมิใช่กำลังรบทั้งหมดที่มีอยู่แต่ก็ต้องนับว่าเป็นกองทัพขนาดใหญ่
คือมีขนาดใหญ่กว่ากำลังพลของกองทัพไทยในปัจจุบันนี้ถึงสองเท่า
จะเรียกกองทัพเช่นนี้ว่า “โจร” ได้อย่างไร
ดังนั้นการเรียกกลุ่มโจรโพกผ้าเหลืองจึงออกจะไม่เป็นธรรมและไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
เพราะเป็นเรื่องการเหยียบย่ำทางการเมืองดังที่กล่าวข้างต้นนั้น
ศึกใหญ่ระหว่างกองทัพจากเมืองหลวงที่บัญชาการโดย “โลติด” แม่ทัพใหญ่ กับกองทัพของขบวนการกอบกู้ชาติ ที่บัญชาการโดย “เตียวก๊ก” แม่ทัพใหญ่ และมีกำลังพลถึงห้าแสนคนจึงระเบิดขึ้น กลายเป็นสงครามโจรโพกผ้าเหลืองนับแต่บัดนั้น......
ศึกใหญ่ระหว่างกองทัพจากเมืองหลวงที่บัญชาการโดย “โลติด” แม่ทัพใหญ่ กับกองทัพของขบวนการกอบกู้ชาติ ที่บัญชาการโดย “เตียวก๊ก” แม่ทัพใหญ่ และมีกำลังพลถึงห้าแสนคนจึงระเบิดขึ้น กลายเป็นสงครามโจรโพกผ้าเหลืองนับแต่บัดนั้น......
เนื้อเรื่องบางส่วนจาก
สามก๊กฉบับคนขายชาติ